วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
















แนวข้อสอบมาตรฐานช่วงชั้นที่ 3
มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชุดที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (จำนวน 100 ข้อ)
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. “ผรุสวาท” ข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. ผรุ-สะ-วาด ข. ผะ-รุ-สะ-วาด
ค. ผะ-รุด-สะ-หวาด ง. ผะ-รุ-สะ-หวาด
2. “มูลนิธิ” ข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. มูน-ละ-นิ-ทิ ข. มูน-ละ-นิด-ทิ
ค. มู-ละ-นิ-ทิ ง. มูน-นิ-ทิ
3. “พืชมงคล” ข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. พืด-โมง-คน ข. พืด-ชะ-มง-คน
๓ ฯ ๒
๑๒
9
3 2
12 ค. พืด-ชะ-โมง-คน ง. พืด-ชะ-ยะ-มง-คน
4. อ่านอย่างไร
ก. วันพุธ เดือนยี่ แรมสิบสองค่ำ ข. วันพุธ เดือนสิบสอง แรมสิบสองค่ำ
ค. วันอังคาร เดือนสิบสอง แรมสิบสองค่ำ ง. วันอังคาร เดือนยี่ แรมสิบสองค่ำ
5. ข้อใดอ่านผิดไปจากพวก
ก. ปรัมปรา ข. ปรักหักพัง
ค. ปราชัย ง. ปรางค์ปราสาท
6. ข้อใดเป็นอักษรควบแท้ทุกคำ
ก. นนทรี อินทรี เทริด ข. ตราด เผลอ ปราชญ์
ค. ผลึก ผลิต ตราด ง. ผลุนผลัน คลาด สวาท
7. ข้อใดอ่านออกเสียงต่อเนื่องทุกคำ
ก. ตุ๊กตา จักจั่น ข. ศาสดา วิตถาร
ค. สัปดาห์ สัปหงก ง. ประดิษฐาน อธิษฐาน
8. ข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. อุณหภูมิ อ่านว่า อุน-นะ-หะ-พูม ข. ภูมิลำเนา อ่านว่า พูม-ลำ-เนา
ค. สกปรก อ่านว่า สก-ปรก ง. อาชญา อ่านว่า อา-ชะ-ยา

9. ข้อใดอ่านอย่างอักษรนำ
ก. ไผท ข. ครุฑ
ค. กฐิน ง. กาลเวลา
10. ” เครื่องหมายนี้อ่านว่าอย่างไร
ก. ทัณฑฆาต ข. สัญประกาศ
ค. บุพสัญญา ง. มหัพภาค
11. ข้อใดเป็นสระไทย
ก. ฤ ฤๅ ข. ไอ เอา
ค. อุ อู ง. อำ ใอ
12. “เก็บเนื้อเก็บตัว” ข้อใดใช้ได้เหมาะสม
ก. นักกีฬาเก็บเนื้อเก็บตัวก่อนการแข่งขัน
ข. เขาเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวอย่างนี้แหละ
ค. เด็กๆ เก็บเนื้อเก็บตัวเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่
ง. เมื่อนักเรียนมาถึงโรงเรียนก็เก็บเนื้อเก็บตัวอยู่แต่ในห้อง
13. ข้อใดใช้คำขึ้นต้นเสนอความคิดคัดค้านในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ถูกต้อง
ก. ท่านสมาชิกที่เคารพ ข. ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ
ค. ท่านประธานที่เคารพ ง. ท่านรัฐมนตรีที่เคารพ
14. คำประพันธ์ในข้อใดมีแนวคิดต่างจากข้ออื่น
ก. สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
ข. ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
ค. จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน
ง. อันลมปี่ดีแต่เพราะเสนาะหู ที่จะสู้ลมปากยากหนักหนา
15. ข้อใดใช้คำผิดความหมาย
ก. กรรมดีย่อมคุ้มครองผู้ทำดี ข. นักเรียนขออนุญาตครูก่อนใช้ห้องเรียน
ค. เหตุการณ์ร้ายได้คลี่คลายลงแล้ว ง. เก้าอี้ตัวนี้ดูเก่าคร่ำครึ
16. “อสังหาริมทรัพย์” หมายถึงทรัพย์ในข้อใด
ก. ซื้อขายได้ ข. ซื้อขายไม่ได้
ค. เคลื่อนที่ได้ ง. เคลื่อนที่ไม่ได้
17. คำว่า “ต้อง” ข้อใดเป็นกริยาสำคัญ
ก. ต้องระวังตัวให้มาก ข. เกิดเป็นไทยต้องสู้
ค. เธอต้องมาที่นี่ ง. ของนี่ต้องตาฉัน
18. ข้อใดใช้คำผิด
ก. เขาใช้ระหัดวิดน้ำออกจากนา ข. ท่านปรานีคุณมากกว่าคนอื่น
ค. เพื่อนฉันไปวัดราชบพิตร ง. สุนทรภู่เป็นกวีแต่ดอกไม้สดเป็นนักประพันธ์
19. “ตีวัวกระทบคราด” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่
ข. หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว
ค. ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก
ง. ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
20. ข้อใดคือเอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเกิด
ก. วุฒิบัตร ข. อาชญาบัตร
ค. มรณบัตร ง. สูติบัตร
21. ข้อใดเขียนผิดเพียงคำเดียว
ก. มัทรี อินทรีย์ เทริด ข. ตรุษสารท พุทธศาสน์ ตระเวณ
ค. คอลัมน์ ไปรษณีย์ ปฏิสังขรณ์ ง. งบทดรอง เงินดาวน์ เงินทดรองจ่าย
22. คำใดเขียนไม่ถูกต้อง
ก. สมเพช ข. อาเพท
ค. ประเภท ง. เบญจเพส
23. ข้อใดเป็นคำบาลีทุกคำ
ก. กรีฑา ปรัชญา ข. กีฬา ปัญญา
ค. บรรทม เขนย ง. อัศจรรย์ อัจฉริยะ
24. “สวัสดี” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ความสุข ข. ความก้าวหน้า
ค. ความสำเร็จ ง. ความเจริญรุ่งเรือง
25. ข้อใดใช้ “ส” สะกดผิด
ก. พัสดุ ข. ฝรั่งเศส
ค. พิสดาร ง. พัสดี
26. ภาษาไทยมีลักษณะคล้ายภาษาใด
ก. ภาษาขอม ข. ภาษาจีน
ค. ภาษาบาลี สันสกฤต ง. ภาษามอญ
27. ข้อใดเป็นอักษรต่ำเดี่ยวทั้งหมด
ก. ค ฝ ฟ ข. ณ ม ค
ค. น ญ ง ง. ช ซ ฌ
28. ข้อใดผันได้ครบห้าเสียง
ก. ค้า ข. อุ้ม
ค. สร้าง ง. ขึ้น
29. ข้อใดผันเสียงวรรณยุกต์ได้เหมือนกัน
1) อักษรต่ำ กับ อักษรกลาง
2) อักษรคู่ กับ อักษรเดี่ยว
ค. อักษรต่ำ กับ อักษรคู่
ง. อักษรคู่ - อักษรเดี่ยว และ อักษรต่ำ - อักษรคู่
30. “ซ” มีเสียงคู่กับพยัญชนะข้อใด
ก. ฉ ฝ ข. ส ฮ
ค. ฌ ช ง. ศ ษ ส
31. พยัญชนะไทย มีกี่รูป กี่เสียง
ก. 21 รูป 32 เสียง ข. 44 รูป 21 เสียง
ค. 44 รูป 32 เสียง ง. 32 รูป 44 เสียง
32. ข้อใดใช้แทนเสียงดนตรี
ก. สระ ข. พยัญชนะ
ค. วรรณยุกต์ ง. อักษรเบลล์
33. ข้อใดเป็นคำตายทุกคำ
ก. พลีชีพเพื่อชาติ ข. รักชาติยิ่งชีพ
ค. รักศักดิ์สงวนสัตย์ ง. คณะปฏิวัติ
34. “อดอยากปากแห้ง” มีคำเป็นคำตายกี่คำ
ก. คำเป็น 1 คำตาย 3 ข. คำเป็น 1 คำตาย 4
ค. คำเป็น 2 คำตาย 2 ง. คำเป็น 3 คำตาย 1
35. ข้อใดเป็นอักษรควบแท้ทุกคำ
ก. จริง ตรู่ ตรัส ข. สล้าง เสริม ปราการ
ค. ผลิต จันทรา ปราชัย ง. ความ เกรียง ผลาญ
36. คำข้อใดมี 4 พยางค์
ก. ฆาตกร ข. อาชญา
ค. วัฒนธรรม ง. อาสาฬหบูชา
37. คำข้อใดเป็นภาษาสันสกฤต
ก. วิชา ข. ปัจฉิม
ค. อัจฉริยะ ง. อมาตย์
38. ข้อใดมีคำมาจากภาษาสันสกฤตทุกคำ
ก. วัตถุ บุปผา ปัญญา ข. ศิลปะ กรีฑา ประเทศ
ค. คัมภีร์ สวามี มนตรา ง. อัจฉริยะ สถานะ มิตร
39. ข้อใดเป็นคำพยางค์เดียวทั้งหมด
ก. แพทย์ ดี วิทยา ข. อัคคี แถง ตาย
ค. ผสม ไถง เพ็ญ ง. ขุด จับ ตรอก
40. คำที่เปล่งออกมาด้วยอารมณ์สะเทือนใจคือข้อใด
ก. คำกริยา ข. คำสันธาน
ค. คำอุทาน ง. คำบุพบท
41. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
ก. อวยพร ผู้หญิง พิจารณา ข. ฤดู ห่วงใย ฉะนี้
ค. เรไร ดินสอ ตะเข็บ ง. สะใภ้ บำเรอ ตะวัน
42. พระมหากษัตริย์อ่านหรือเขียนหนังสือ ใช้คำราชาศัพท์ตรงข้อใด
ก. ทรงพระอักษร ข. ลายพระหัตถ์
ค. ทรงอ่าน เขียนหนังสือ ง. พระราชหัตถ์
43. เจ้าอาวาส ……………. มาหลายเดือนแล้ว
ก. อาพาส ข. อาพาต
ค. อาพาษ ง. อาพาธ
44. ป่าไม้ ……………. จะมีพันธุ์ไม้หลายชนิด
ก. เบญจพันธุ์ ข. เบญจพรรณ
ค. เบญจพัน ง. เบญจพันธุ
45. คำประพันธ์ประเภทใดที่บังคับครุ ลหุ
ก. โคลง ข. ฉันท์ ค. กาพย์ ง. กลอน
46. กลอนวรรคใดมีสัมผัสในมากที่สุด
ก. ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน ข. โลกจะสว่างไสวด้วยแสงอาทิตย์
ค. เป็นอกหนุนอุ่นเนื้อเมื่อนอนหนาว ง. ชวนน้องนับดาราที่เป็นเพื่อน
47. ประโยคในข้อใดไม่มีส่วนขยาย
ก. ฉันชอบออกกำลังกาย ข. ทุกเช้าฉันออกกำลังกาย
ค. ฉันชอบออกกำลังกายทุกวัน ง. ฉันออกกำลังกายตอนเช้า
48. “บานชื่นจึงแสร้งหลับด้วยท่าทีท้อแท้” ข้อความนี้มีส่วนขยายในข้อใด
ก. ประธาน ข. ภาคแสดง
ค. ทั้งภาคประธานและภาคแสดง ง. กรรม
49. “เพราะ” ในข้อใดทำหน้าที่เป็นคำขยาย
ก. เพลงในเทปนี้เพราะ ข. เขาร้องเพลงได้ดีเพราะมีผู้สอนฝึกดี
ค. นักร้องคนนี้ร้องเพลงเพราะมาก ง. เพลงเพราะเนื่องจากนักร้องมีน้ำเสียงดี
50. ข้อใดใช้ลักษณนามไม่ถูกต้อง
ก. ปาก : สวิง แห อวน ข. รูป : ภิกษุ เณร นักพรต
ค. ตัว : ตุ๊กตา โต๊ะ เก้าอี้ ง. ผืน : พรม เบ็ด เสื่อ
51. ข้อใดไม่ใช่ชื่อมด
ก. เป้ง ข. กลิ้งคี่
ค. ตะนอย ง. น้ำลายงูเห่า
52. “พรรณ” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ชั้น ข. สี ค. เพศ ง. ชนิด
53. สัตว์ข้อใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ก. เรไร จักจั่น แม่ม่ายลองไน ข. กลิ้งคี่ หมาร่า แมงกะแท้
ค. แมงค่อม แมลงทับ แมงคาเรือง ง. แมงป่อง ตะขาบ ตะบองพลำ
54. มัจฉานุมีสิ่งใดคล้ายหนุมาน
ก. เป็นวานรเหมือนกัน ข. มีเขี้ยวแก้วเหมือนกัน
ค. หาวเป็นดาวเป็นเดือนได้เหมือนกัน ง. มีกุณฑลสุรกานต์เหมือนกัน
55. ข้อใดแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณของมัจฉานุ
ก. ตัวลูกไม่แจ้งประจักษ์ใจ จึ่งชิงชัยกับพระบิดา
ข. อันโทษนี้ใหญ่หลวงนัก ลูกรักจักขอโทษา
ค. อันซึ่งจะบอกมรคา ดั่งข้าไม่มีกตัญญู
ง. ยอกรขึ้นเหนือศิโรเพฐน์ น้อมเกศบังคมประนมไหว้
56. ข้อใดคือความหมายของคำว่า “องคาพยพ”
ก. เส้นเลือดฝอย ข. โสตประสาท
ค. อวัยวะภายในร่างกาย ง. อวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย
57. “ผจญคนมักโกรธด้วย ไมตรี
ผจญหมู่ทรชนดี ต่อตั้ง
ผจญคนจิตโลภมี ทรัพย์เผื่อ แผ่นา
ผจญอสัตย์ให้ยั้ง หยุดด้วยสัตยา”
(โคลงโลกนิติ)
โคลงบทนี้สอนเรื่องใด
ก. การสร้างความดี ข. การเข้าสังคม
ค. การสร้างมิตร ง. การคบเพื่อน
58. การไตร่ตรองโดยแยบคาย มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. การพิจารณาอย่างรอบคอบ ข. การคิดอย่างมีเหตุผล
ค. การใช้สติปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ ง. การคิดอย่างลึกซึ้ง
59. “เพื่อโค้งเคียวเรียวเดือนและเพื่อนโพ้น
เพื่อไผ่โอนพลิ้วพ้อล้อภูผา
เพื่อเรืองข้าวพราวแพร้วทั่วแนวนา
เพื่อขอบฟ้าขลิบทองรองอรุณ”
(อุชเชนี)
ผู้เขียนกล่าวถึงใครในบทประพันธ์นี้
ก. ชาวสวน ข. ชาวไร่
ค. ชาวนา ง. ชาวเมือง
60. “เป็นมนุษย์สุดดีที่ลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา”
คำประพันธ์นี้สัมพันธ์กับข้อใด
ก. อ่อนหวานมิตรล้น เหลือหลาย ข. เป็นชื่อเป็นเสียงได้ แต่ร้ายกลับดี
ค. ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้ ก่อสร้างมาเอง ง. จิตมนุษย์นี้ไซร้ยากแท้หยั่งถึง
61. “อันคำโบราณกล่าวไว้ อย่าให้หลงกลทั้งสี่
คือรูปรสวาจาพาที ดุริยางค์ดนตรีนี้ห้ามนัก”
ผู้กล่าวคำประพันธ์นี้คือตัวละครในข้อใด
ก. พิเภก : พระราม ข. หนุมาน : พระราม
ค. พิเภก : ทศกัณฐ์ ง. พระลักษมณ์ : พระราม

62. ข้อใดคือปั้นเหน่ง ซึ่งเป็นเครื่องหมายของตัวละคร
ก. เข็มขัด ข. แหวน
ค. กำไล ง. ชฎา
63. สำนวนในข้อใดตรงกับ “ความรู้ทำให้เหิมกำเริบ”
ก. วัดรอยเท้า ข. ถ่มน้ำลายรดฟ้า
ค. ยกตนข่มท่าน ง. เข้าเมืองตาหลิ่ว
64. “สามก๊ก” หมายถึงก๊กใดบ้าง
ก. วุยก๊ก เหี้ยนก๊ก เล่าก๊ก ข. เล่าก๊ก จ๊กก๊ก วุยก๊ก
ค. จ๊กก๊ก ง่อก๊ก เล่าก๊ก ง. ง่อก๊ก จ๊กก๊ก วุยก๊ก
65. ข้อใดอธิบายคำว่า “เรื่องสั้น” ได้ถูกต้อง
ก. เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ได้ ข. ไม่ใช่เรื่องจริงแต่สมจริง
ค. เป็นเรื่องไม่จริงแต่ตัวละครมีจริง ง. เรื่องที่แต่งไม่ปรากฏเหตุการณ์มาก่อน
66. ข้อใดไม่ใช่ข้อเท็จจริง
ก. วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ข. พระสงฆ์จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน
ค. ชาวพุทธทุกคนต้องไปทำบุญในวันพระ
ง. เราเล่นสาดน้ำกันในวันสงกรานต์
67. การสวด “บังสุกุล” ทำเพื่อบุคคลในข้อใด
ก. คนตาย ข. คนที่มีชีวิตอยู่
ค. ญาติพี่น้อง ง. เพื่อนร่วมโลก
68. ข้อใดเป็นคำเชิญชวน
ก. โปรดลดเสียงดัง ข. ช่วยกันประหยัดวันนี้ เพื่อชีวีในวันหน้า
ค. โปรดอย่าเดินลัดสนาม ง. ห้ามนำขยะมาทิ้งที่นี่
69. การเขียนจดหมาย “วัน เดือน ปี” ในข้อใดเหมาะสม
ก. 7 ม.ค. 49 ข. 7 มกราคม 2549
ค. วันที่ 7 มกราคม 2549 ง. วันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2549
70. กระดาษเขียนจดหมายรูปการ์ตูน เหมาะจะใช้เขียนถึงบุคคลใด
ก. พ่อ แม่ ข. ครู
ค. เพื่อนสนิท ง. ผู้จัดการบริษัท

71. การเขียนจดหมายกิจธุระควรใช้คำลงท้ายในข้อใด
ก. ด้วยความระลึกถึง ข. ด้วยความเคารพ
ค. ด้วยความเคารพอย่างสูง ง. ขอแสดงความนับถือ
72. เรื่องในข้อใดควรนำมาเป็นหัวข้อในการสนทนา
ก. เรื่องศาสนา ข. เหตุการณ์ปัจจุบัน
ค. เรื่องส่วนตัว ง. เรื่องความสามารถของตนเอง
73. การใช้ระดับเสียงให้ต่างกันมีประโยชน์ต่อการอ่านในข้อใดมากที่สุด
ก. อ่านเรื่องสั้น ข. อ่านรายงาน
ค. อ่านนิทาน ง. อ่านประกาศ
74. ข้อใดแสดงความเหมาะสมในการพูดของผู้พูด
ก. ทำไมเธอแต่งตัวเชยอย่างนี้ ข. เธอขี้เกียจอย่างนี้ถึงได้สอบตกไง
ค. เกรดเธอดีนะแต่สู้ฉันไม่ได้
ง. ถ้าเธอซ้อมพูดบ่อยๆ เธอก็มีโอกาสชนะการประกวดเหมือนกัน
75. การอ่านในข้อใดถ้าเว้นวรรคตอนผิดจะทำให้ความหมายผิดไปได้
ก. หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าปีที่แล้วหลายเท่า ข. เดี๋ยวนี้โลกร้อนขึ้นทุกวัน
ค. ไม่พบเธอตั้งนานนมโตเป็นกอง ง. เพื่อนสนิทเป็นชื่อภาพยนตร์
76. ข้อใดกล่าวถึงการย่อความผิด
ก. ไม่ควรใช้อักษรย่อในการย่อความ ข. การย่อความไม่ต้องมีตัวอย่าง
ค. ให้เปลี่ยนคำราชาศัพท์เป็นสำนวนผู้ย่อ ง. ถ้าเป็นร้อยกรองให้ผู้ย่อสรุปเป็นร้อยแก้ว
77. ข้อใดคือประโยชน์ของย่อความ
ก. ประหยัดเวลาในการอ่าน ข. สรุปเนื้อหาที่สำคัญๆ ให้กระชับขึ้น
ค. ช่วยเตือนความจำและจดจำได้ง่าย ง. เตือนความจำ สรุปเนื้อหา ประหยัดเวลา
78. การเขียนเรียงความเกี่ยวกับบุคคลสำคัญจะเตรียมโครงเรื่องในข้อใด
1) กำเนิด การศึกษา หน้าที่การงาน เกียรติคุณ
2) กำเนิด การศึกษา ฐานะ หน้าที่การงาน
ค. กำเนิด การศึกษา ฐานะ ความสำคัญ
ง. กำเนิด การศึกษา ความสำคัญ ประโยชน์
79. “แม่เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้งยิ่งนัก แม่เป็นคำแรกที่ลูกพูดได้”
ประโยคใจความสำคัญคือข้อใด
ก. แม่เป็นคำที่มีความหมาย ข. แม่เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง
ค. แม่เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้งยิ่งนัก ง. แม่เป็นคำแรกที่ลูกพูดได้

80. “ตนเป็นที่พึ่งของตน เป็นพุทธสุภาษิตตรงกับคำบาลี อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ
แปลว่า ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน” ข้อความนี้ควรตั้งชื่อเรียงความในข้อใด
ก. ตนเป็นที่พึ่งของตน ข. อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ
ค. พุทธสุภาษิตไทย ง. ที่พึ่งแห่งตน
81. “คนที่พูดความจริงถือเอาความสัตย์ธรรมเป็นที่ตั้ง ปราศจากความครั่นคร้ามต่างๆ
จึงจะมีความสุข แต่คนที่พูดคำเท็จนั้นเปรียบประดุจยืนอยู่บนปลายหอกหรือ
หลาว” (ธรรมจริยา)
ข้อความนี้เปรียบความสัตย์กับข้อใด
ก. ควันไฟ ข. ของประสม
ค. ของปลอม ง. ของแท้จริง
82. จากข้อความในข้อ 81 มีคำที่แสดงการเปรียบเทียบคือข้อใด
ก. เปรียบ ข. ประดุจ
ค. เปรียบประดุจ ง. ประดุจยืน
83. จากข้อความในข้อ 81 คนที่ปิดบังความเท็จของตนไว้ เป็นคนอย่างไร
ก. อ่อนแอ ข. หลอกลวงตนเอง
ค. หลอกลวงผู้อื่น ง. ขาดความซื่อสัตย์
84. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่คนไทยไม่นิยมเขียนเลขไทย
ก. เขียนยาก ข. ไม่ค่อยมีโอกาสใช้
ค. ไม่เคยพบเห็นตัวเลขไทย ง. ตัวเลขที่ใช้ทั่วไปเป็นเลขอารบิก
85. เหตุใดจึงมีการรณรงค์ให้เขียนเลขไทย
ก. มีความสวยงาม ข. เลขไทยเป็นศิลปะ
ค. เลขไทยฝึกการเขียนได้ดี ง. สามารถฝึกสมาธิได้เมื่อเขียนเลขไทย
86. “ข้าวปุ้น” ในภาษาถิ่นอีสานหมายถึงข้อใด
ก. ขนมจีน ข. ขนมครก
ค. ข้าวสวย ง. ข้าวต้ม
87. ข้อใดคือภาษาถิ่นภาคใต้ที่หมายถึง “พี่”
ก. ปี้ ข. ผี
ค. อ้าย ง. เสี่ยว
88. ข้อใดเป็นเพลงที่ใช้กล่อมเด็ก
ก. นกขมิ้น ข. มอญซ่อนผ้า
ค. ผมเปีย ง. รีรีข้าวสาร
89. จุดประสงค์ของเพลงกล่อมเด็กคือข้อใด
ก. ปลอบให้หายตกใจ ข. ล้อเลียนให้เด็กอารมณ์ดี
ค. ให้เกิดความสนุกสนาน ง. ให้สบายใจจะได้นอนหลับ
90. การละเล่นเด็กไทยข้อใดไม่เหมาะสม
ก. กระโดดเชือก ข. เกมประสมอักษร
ค. ขี่รถมอเตอร์ไซค์ซิ่ง ง. โยนห่วงยาง
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 91-93
“แน่นอนปัญหาความขัดแย้งและความวุ่นวายทางด้านการเมือง เป็นจุดใหญ่ที่ นักลงทุนใช้เป็นทิศทางกำหนดแผนลงทุนในอนาคต ถ้าการเมืองนิ่งสงบนักลงทุนก็พร้อม
เดินหน้าโครงการ”
(เดลินิวส์ 22 พ.ย. 2548)
91. ข้อความนี้ถือว่าสิ่งใดสำคัญที่สุด
ก. ปัญหาทางการเมือง ข. ปัญหานักลงทุน
ค. ปัญหาการกำหนดแผนลงทุน ง. ปัญหาของโครงการ
92. ข้อความนี้มีลักษณะเช่นไร
ก. ปลุกใจ ข. ตักเตือน
ค. เชิญชวน ง. ให้ข้อคิด
93. ข้อความนี้ยึดคติในข้อใด
ก. ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ข. มือใครยาวสาวได้สาวเอา
ค. ความสามัคคีคือพลัง
ง. คนเดียวหัวหายสองคนเพื่อนตาย
อ่านบทความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 94-95
“เสรีภาพของบุคคลทั่วไป หมายถึง เสรีภาพในการใช้สิทธิ 2 ประการ คือ สิทธิ ในการคิดและสิทธิในการกระทำ สิทธิที่ว่านี้ย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน ไม่ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิทางส่วนตัวหรือสิทธิทางการเมือง”
(เดลินิวส์ 23 พ.ย. 2548)
94. ข้อใดคือใจความสำคัญของบทความนี้
ก. สิทธิของประชาชน ข. เสรีภาพของบุคคล
ค. สิทธิในการคิด ง. สิทธิทางการเมือง
95. บทความนี้ตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. ข้อเท็จจริง ข. ข้อคิดเห็น
ค. ข้อเสนอแนะ ง. ข้อเตือนใจ
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วแสดงความคิดเห็นข้อ 96-97
“เวลามีเรื่องกับผู้โดยสาร สังคมมักสนใจและให้ความสำคัญมาก แต่เวลาที่แท็กซี่เป็นเหยื่อเสียเองถูกจี้ปล้น บางทีถูกทำร้าย ถูกฆ่า สังคมกลับ ให้ความสำคัญน้อย”
(เดลินิวส์ 8 พ.ย. 2548)
96. นักเรียนคิดว่าผู้ใดตัดพ้อ
ก. ผู้โดยสารรถ ข. คนขับรถ
ค. สังคม ง. เหยื่อที่ถูกจี้ปล้น
97. นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่ออ่านข้อความนี้
ก. เฉย ๆ ข. สงสาร
ค. เห็นด้วยเพราะทุกชีวิตมีค่าเท่ากัน ง. ไม่เห็นด้วยเพราะผู้โดยสารรถสำคัญกว่า
98. “เทศกาลหนึ่งของคนไทย เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษในกลางฤดูร้อน
ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี” ข้อความนี้กล่าวถึงเทศกาลใด
ก. สงกรานต์ ข. แห่นางแมว
ค. ตักบาตรเทโว ง. ชักพระ
99. ราศีเมษ ตรงกับเดือนในข้อใด
ก. มิถุนายน ข. พฤศจิกายน
ค. กุมภาพันธ์ ง. เมษายน
100. ข้อใดแสดงพฤติกรรมตรงกับ “การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม”
ก. ทำการบ้านส่งหลังกำหนด ข. ทำการบ้านส่งก่อนกำหนด
ค. ทำการบ้านตามเวลากำหนด ง. ทำการบ้านส่งเมื่อครูทวงถาม

หลักการอ่านออกเสียงอักษรนำ

หลักการอ่านออกเสียงอักษรนำ
คำที่ผู้ฟังสนใจและสอบกันมากชนิดหนึ่งก็คือ การอ่านออกเสียงอักษรนำมีหลักเกณฑ์อย่างไร เช่น คำว่า "ศักราช" อ่านว่า "สัก - กะ - หราด" แต่ทำไมคำว่า "เอกราช" จึงอ่านว่า "เอก - กะ - ราด" ทำไมจึงไม่อ่านว่า "เอก - กะ - หราด" ให้เหมือน ๆ กัน หรืออำเภอ "จักราช" จังหวัดนครราชสีมา ทำไมจึง อ่านว่า "จัก - กะ - หราด" การอ่านคำต่าง ๆ ในภาษาไทยนั้นมีทั้ง "การอ่านตามหลัก" และ "การอ่านตามความนิยม" แต่เราก็ควรจะยึดหลักไว้ก่อน การอ่านตามความนิยมถือว่าเป็นข้อยกเว้น เช่น จังหวัด "ชัยนาท" เราออกเสียงว่า "ไช - นาด" ทั้ง ๆ ที่ตามหลักควรอ่านว่า
"ไช - ยะ - นาด" เช่นเดียวกับจังหวัด "ชัยภูมิ" ที่เราอ่านว่า "ไช - ยะ - พูม" ข้าพเจ้าได้อ่าน "เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ท ๖๐๕ ภาษาไทย"
ของ น.ส.สุวิมล มนัสศุภรานันท์ ซึ่งมีอยู่ตอนหนึ่งที่ได้กล่าวถึง "หลักการอ่านออกเสียงอักษรนำ" เห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่อย่างรวบรัดพอเป็นแนวทางสำหรับพิจารณาต่อไปดังนี้ ๑. ถ้า "อ" และ "ห" นำอักษรเดี่ยว ไม่ออกเสียง "อ" และ "ห" แต่เสียงวรรณยุกต์ที่ออกนั้น ต้องออกเสียงเหมือนเสียงวรรณยุกต์ของตัวหน้าที่เป็นตัวนำ เช่น อย่า อยู่ อย่าง หยด หงิม ฯลฯ ๒. ถ้าอักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว ต้องออกเสียงวรรณยุกต์ของพยัญชนะตัวหลังให้มีเสียงสูงตามอักษรนำ เช่น เอา ห นำคำหลัง เช่น
ผนัง ออกเสียงว่า ผะ - หนัง
แผนก "ผะ - แหนก
สงบ " สะ - หงบ
สงวน " สะ - หงวน
๓. ถ้าอักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว ต้องออกเสียงวรรณยุกต์ของพยัญชนะตัวหลังตามเสียงอักษรกลางที่นำ คือ ตัวนำมีเสียงวรรณยุกต์อย่างไร พยัญชนะตัวหลังที่ถูกนำก็จะมีเสียงวรรณยุกต์อย่างเดียวกัน คือ เอา ห นำคำหลัง เช่น
ตลบ ออกเสียงว่า ตะ - หลบ
ตลาด "ตะ - หลาด
ปรอท " ปะ - หรอด
อนึ่ง" อะ - หนึ่ง
๔. ถ้าอักษรสูงนำอักษรต่ำคู่หรืออักษรกลาง ให้ออกเสียงวรรณยุกต์ของพยัญชนะตัวหลังตามเสียงวรรณยุกต์ของตัวมันเอง ไม่ต้องผันไปตามเสียงอักษรสูง เช่น
สบง ออกเสียงว่า สะ - บง
สบาย "สะ - บาย
ขจาย "ขะ - จาย
ขจร " ขะ - จอน
๕. ถ้าอักษรต่ำเป็นอักษรนำ ให้อ่านออกเสียงวรรณยุกต์พยัญชนะตัวหลังตามเสียงวรรณยุกต์ของตัวมันเอง เช่น
รหัส ออกเสียงว่า ระ - หัด
รโห" ระ - โห
ชบา " ชะ - บา
ชนัก "ชะ - นัก
แต่ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้นบางคำที่ไม่ออกเสียงตามกฎเกณฑ์ที่กล่าวมา เช่น
อัศวิน ออกเสียงว่า อัด - สะ - วิน (ไม่ใช่ อัด - สะ - หวิน)
กฤษณะ "กริด - สะ - นะ (ไม่ใช่ กริด - สะ - หนะ)
สมรรถภาพ " สะ - มัด - ถะ - พาบ (ไม่ใช่ สะ - หมัด - ถะ - พาบ)
วิษณุ " วิด - สะ - นุ (ไม่ใช่ วิด - สะ - หนุ)
เรื่องการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยก็นับว่าเป็นปัญหาที่ยุ่งยากใจเรื่องหนึ่ง เพราะบางทีก็ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรเป็นเกณฑ์ หรือบางทีวางหลักเกณฑ์ไว้แล้ว ก็ยังมีข้อยกเว้นในบางกรณีอีก เราก็ไม่ทราบว่าในกรณีใดบ้างที่เป็นข้อยกเว้น จึงจำต้องอาศัยความสังเกตและความจำเป็นหลักสำคัญด้วย อย่างคำว่า "เอกราช" ที่เราออกเสียงกันว่า "เอก - กะ - ราด" นั้น ตามหลักต้องอ่านว่า "เอก - กะ หราด" ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงกรรมการชำระปทานุกรมรุ่นใหญ่สมัยที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการชำระปทานุกรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ นั่นคือ คุณพระธรรมนิเทศทวยหาญ ท่านไม่ยอมอ่านว่า "เอก - กะ - ราด" ท่านจะอ่านของท่านว่า "เอก - กะ - หราด" อยู่เสมอ